เก้าอี้สำนักงาน เพื่อสุขภาพ – การทำงานเพื่อได้งาน ที่มีประสิทธิภาพ ต้องเกิดจากการ ทำงานที่มีประสิทธิภาพ และหนึ่งในตัวช่วยใน การทำงาน ให้มีประสิทธิภาพคือ อุปกรณ์การทำงาน ซึ่งอุปกรณ์การทำงาน ที่นิยมใช้กันในบริษัท หรือสำนักงานนั้นขาดไม่ได้เลยคือ คอมพิวเตอร์ โต๊ะสำนักงาน เก้าอี้สำนักงานนั่นเอง
วิธีเลือก เก้าอี้สำนักงาน เพื่อสุขภาพ
ปัจจุบันมี ก้าอี้นั่งทำงานหลายรุ่น มากทีเดียว แน่นอนว่าบาง ดีไซน์อาจจะดูสวยงาม เหมาะกับบ้านของเรา แต่ทว่าก็อาจจะไม่เหมาะ กับการนั่งทำงาน เสมอไป วันนี้ขอนำวิธีเลือก เก้าอี้นั่งทำงานมา ฝากกัน ไว้เป็นทริก สำหรับตัดสินใจก่อนซื้อ
เบาะนั่ง
ก่อนซื้อควร ลองนั่งดูก่อน โดยเลือกเบาะที่ มีขนาดพอดี นั่งแล้วไม่รู้สึกคับแคบ หรืออึดอัด แต่ก็ไม่ควรเลือก เบาะขนาดใหญ่เกินไป และเวลานั่งหลัง ต้องชิดพอดีกับ พนักพิงเบาะ เพราะการพิง ไม่ถึงและเอนตัวไป ด้านหลังจะทำให้หลังงอ ส่วนความลึก ของเบาะต้องไม่มากกว่า ช่วงต้นขาเพื่อให้ นั่งทำงานได้สบาย เบาะต้องไม่นุ่ม หรือเป็นแอ่ง เพราะส่งผลให้กระดูก เชิงกรานบิดงอ
ที่วางแขน
ที่วางแขนจะช่วยรองรับ แขนระหว่างการ ใช้งานคอมพิวเตอร์ ช่วยให้เราดัน ตัวระหว่างนั่งให้ยืดตรง และช่วยค้ำพยุงตัวเวลาลุกไปไหน มาไหนได้ ถ้าหากสามารถ ปรับที่วางแขน ให้สูง-ต่ำได้ด้วยยิ่งดี เพื่อให้ข้อศอกงอ ในมุมที่เหมาะและสามารถวาง แขนบนโต๊ะทำงาน ได้อย่างสบาย หรือทั้งเลื่อนขึ้น-ลงและกางออกสำหรับ คนตัวใหญ่ โดยที่วางแขน ควรมีความกว้าง อย่างน้อย 2 นิ้ว แต่สำหรับคน ที่ไม่มีความจำเป็น ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ อาจไม่ต้องมีที่เท้าแขน หรือมีเท้าแขนแบบไม่มีที่ ปรับระดับก็ได้ ที่สำคัญหาก เลือกซื้อเก้าอี้ทำงาน ที่มีที่เท้าแขนหลังจาก ซื้อโต๊ะทำงานแล้ว ควรวัดขนาดโต๊ะทำงาน ไปก่อนเพื่อให้สอด เก็บใต้โต๊ะได้ด้วย เพื่อความเป็นระเบียบ
พนักพิงและที่รองคอ
การมีที่รองคอและ พนักพิงหลังสามารถ ทำให้เรานั่งทำงาน ได้อย่างยาวนาน ไม่เมื่อยหลัง ไม่เกร็งหลัง หลังไม่งอ ทั้งนี้ พนักพิงหลัง ที่ดีควรมีลักษณะเอน ไปด้านหลังเพียงเล็กน้อย ประมาณ 110-130 องศา และควรมีความสูง เพียงระดับไหล่หรือต่ำกว่า เล็กน้อย หากพนักพิงไม่พอดี กับสรีระสามารถใช้หมอน หนุนเพื่อให้ได้ความหนา ตามต้องการ
ความสูงของเก้าอี้ที่เหมาะสม
การเลือกเก้าอี้นั่งทำงานที่ดีควรเลือกแบบมีโช้คสามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระ หากความสูงของเก้าอี้ทำงานมีความต่ำหรือสูงไปจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ หรือปวดสะโพกได้ โดยวิธีเช็กความสูงของระดับเก้าอี้ว่าพอเหมาะหรือไม่ให้สังเกตเวลานั่งควรให้เท้าวางแนบกับพื้นพอดี ต้นขาขนานกับพื้น ทั้งนี้ หากมีเหตุสุดวิสัยโดยปรับความสูงให้พอเหมาะกับโต๊ะทำงานแล้วแต่เท้าก็ลอยเหนือพื้น วิธีแก้คือหาที่วางพักเท้าช่วยรับน้ำหนัก เพื่อให้ช่วงเข่าและขาผ่อนคลาย ไม่ปวดเมื่อย
วัสดุ
วัสดุภายในที่ ทำเบาะรอง นั่งส่วนใหญ่จะใช้ฟองน้ำ หรือโฟมหลากแบบ ทั้งนี้ ควรเลือกโฟม ที่มีความหนาแน่นสูง เพราะจะมีความแข็ง ไม่ยุบตัว หรือเปื่อย ยุ่ยง่าย หรือเรียกว่า Memory Foam ที่นิยมใช้ ทำเตียงราคาสูง ความพิเศษ คือสามารถรับน้ำหนักตัว และป้องกันการกดทับ ของเส้นเลือดที่ ขาจากการนั่งนาน ๆ ทำให้เลือดไหล เวียนได้ดีอยู่เสมอ สำหรับวัสดุ ห่อหุ้มภายนอก หลัก ๆ มีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ ผ้า หนังเทียม หนังแท้ และตาข่าย (แบบไม่ต้องหุ้ม) คุณสมบัติวัสดุ หุ้มแต่ละชนิดมีทั้งจุดเด่น และจุดด้อยแตกต่างกัน โดยหนังแท้ มีความสวยงามและทนกว่า หนังเทียม และทั้งหนังแท้ และหนังเทียมทำความสะอาด และดูแลรักษา ง่ายกว่าผ้า แต่ผ้าระบายอากาศ ได้ดีกว่า และยังเล่นลายและ มีสีให้เลือกเยอะกว่า ส่วนตาข่ายจะเน้น ดีไซน์ที่ทันสมัย และยังระบาย อากาศได้ดี
3 สิ่งต้องรู้ เมื่อเลือกเฟอร์นิเจอร์ สำนักงาน
1. ปรับเปลี่ยนได้ ใช้งานตามต้องการ
ดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ สำนักงานสมัยใหม่ ล้วนออกแบบ ปรับฟังก์ชันการ ใช้งานได้ตามความ ต้องการมากขึ้น เพราะได้ทั้งพื้นที่ การใช้งานได้มากขึ้น ใช้งานได้ยืดหยุ่น สามารถใช้งานปร ะกอบกับ เฟอร์นิเจอร์บางชิ้น หรือเพิ่มความ สะดวกสบาย และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงาน ในมากขึ้น สิ่งสำคัญ คือสามารถ ปรับเปลี่ยน ให้เหมาะกับ การใช้งานได้หลากหลาย ยืดหยุ่นและคุ้มค่า หากต้องเลือก เฟอร์นิเจอร์ สำนักงานมาใช้งานในอนาคต
2. วัสดุ-คุณภาพ ทนทาน ได้มาตรฐาน
ปัจจัยสำคัญที่หนี ไม่พ้นในการ เลือกโต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ สำนักงาน ก็คือวัสดุ ที่แข็งแรง ทนทาน คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ ถ้าเฟอร์นิเจอร์ ที่ดีไซน์โดดเด่น แต่การใช้ งานมีปัญหา ไม่แข็งแรง แตกหักง่าย หรือไม่อยากให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับพนักงานในองค์กร ข้อนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญนั่นเอง
3. ตอบโจทย์สุขภาพพนักงาน
เชื่อแน่ว่าการเลือกเฟอร์นิเจอร์ สำนักงาน โต๊ะ-เก้าอี้ทำงาน เป็นสิ่งสำคัญ ของพนักงาน เพราะ งานที่ดี มีประสิทธิภาพ ก็ต้องเริ่มมา จากอุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ที่สำนักงาน หากพนักงาน ใช้งานได้ไม่ติดขัด ลดการปวดหลัง หรือ ออฟฟิศซินโดรม ก็ย่อมสร้างความสุขใน การทำงาน ได้มากขึ้น
กลับสู่หน้าหลัก – guaranasoda