Archives

Categories

SAVECYBER : เว็บไซต์วิธีการทำเว็บ และเว็บไซต์ในเครือของ Savecyber เพื่อ SEO

SAVECYBER

Savecyber : สำหรับคนที่เริ่มต้นออกแบบเว็บไซต์ในครั้งแรกไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรดี บทความนี้จะแนะนำวิธีการในการออกแบบเว็บไซต์ที่เว็บทั่วไปควรมี ดังรูปที่เห็นด้านบนเป็นโครงสร้างของเว็บไซต์โดยจะมีส่วนหลักๆอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ส่วนดังนี้

Containing block
โดยปรกติเราจะเขียน <div> หรือ <table> ต่อจาก <body> เพื่อเอาไว้เก็บเนื้อหาทั้งหมดของเว็บไซต์ก่อน เพื่อเอาไว้เป็นกล่องในการเก็บเนื้อหาทั้งหมด โดยกล่องของเราจะมีข้อดีอยู่ตรงที่ สามารถทำให้ปรับเปลี่ยนขนาดในการแสดงผลของเนื้อหาได้ หรือตำแหน่งการแสดงผลของเว็บไซต์ได้เช่น จัดกลาง ชิดซ้าย หรือชิดขวา หากนึกภาพไม่ออก ลองเขียนเว็บไซต์โดยเริ่มที่ใส่ตัวหนังสือลงไปก่อน จากนั้นหากต้องการจัดตัวหนังสือเหล่านั้นจะทำได้ยากมาก ดังนั้นทุกครั้งที่ออกแบบเว็บไซต์อย่างลืมที่จะสร้าง containing block เอาไว้ใส่เนื้อหาทั้งหมดก่อน เพื่อความสะดวกของเราเอง

Logo
เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงตัวตนของเรา ทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานจดจำเราได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้การออกแบบเว็บไซต์นั้นจำเป็นต้องมีโลโก้ ของเว็บไซต์เป็นอย่างยิ่ง ส่วนตำแหน่งที่ควรจะวางโลโก้ไว้คือตำแหน่งที่เป็นสีม่วงทั้งหมดนั่นเอง จะสังเกตได้ว่าจะเป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเว็บไซต์ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้งานจำได้ และสะดุดตา เรื่องที่ต้องเตือนให้รู้กันก็คือ โลโก้ของเว็บไซต์เมื่อคลิกจะนำไปสู่หน้าแรกของเว็บไซต์เสมอ

Navigation
เป็นส่วนที่จะนำผู้เข้าชมเว็บไซต์ไปยังส่วนต่างของเว็บไซต์ โดยสามารถทำให้อยู่ในแนวนอน หรือแนวตั้งก็ได้ หากสังเกต hellomyweb.com เราจะทำทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยแนวนอนจะนำไปสู่เนื้อหาหน้าอื่นของเว็บไซต์ ส่วนแนวตั้งจะนำไปสู่เนื้อหาย่อยในหน้านั้น ตำแหน่งที่ควรจะวาง navagation เอาไว้คือสีเขียวทั้งหมด ถ้าสังเกตดูจะพบว่าการวางตำแหน่งต้องพยายามให้อยู่ในส่วนด้านบนของเว็บไซต์ หรือจะพูดอีกอย่างคือส่วนที่เมื่อผู้ใช้เปิดมาก็ต้องเจอได้ทันที ไม่ควรวางไว้ในตำแหน่งที่ผู้ใช้จะต้องเลื่อนขึ้นลง ซ้ายขวา

Content
ส่วนเนื้อหาของเว็บไซต์ เป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด หากผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายผู้ใช้งานจะเปลี่ยนไปชมเว็บใหม่ทันที ตำแหน่งที่ควรวางเนื้อหาไว้คือสีแดง หรือตำแหน่งอื่นๆที่คิดว่าจะทำให้ผู้หาเจอได้โดยไม่ลำบาก หากสังเกตดูจะพบว่าเว็บไซต์บางเว็บไซต์มีโฆษณาที่มากจนเกินไป ทำให้ผู้ใช้งานหาเนื้อหาไม่เจอ นั่นถือเป็นการออกแบบที่ผิดพลาด

Footer
คือส่วนล่างสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนใหญ่จะเก็บลิงก์ต่างๆเอาไว้ หรือเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเว็บไซต์เช่นลิขสิทธิ์ต่างๆ ถามว่าจำเป็นต้องมีหรือไม่ บอกได้ว่าจำเป็นอย่างยิ่ง footer จะเป็นตัวบอกผู้ชมว่าส่วนนี้คือล่างสุดของหน้าที่กำลังแสดงอยู่แล้วนะ ไม่มีเนื้อหาเพิ่มเติมแล้ว ทำไม่ต้องบอกเนื่องจากการแสดงเว็บไซต์ในบางครั้งนั้นหน้านั้นอาจโหลดได้ไม่หมด อาจแสดงได้แค่เนื้อหาภายใน หากเราออกแบบให้มี footer ตั้งแต่แรกผู้ใช้งานก็จะรู้ได้ทันทีว่าหน้าที่แสดงผลนี้อาจแสดงได้ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่เห็น footer และยังมีผลต่อภาพลักษณ์ของเว็บไซต์โดยตรง เราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่มี footer จะรู้สึกเหมือนกับว่าเว็บไซต์นั้นยังทำไม่เสร็จ หรือขาดอะไรบางอย่าง

Whitespace
พื้นที่ว่างในเว็บไซต์ คนส่วนใหญ่มักไม่เห็นความสำคัญของการเว้นพื้นที่ว่างไว้ในเว็บไซต์ เรามักจะใส่ภาพหรือตัวหนังสือเข้าไปให้มากที่สุดเพราะคิดว่าจะทำให้เว็บดูสวยงามขึ้น หรือใช้พื้นที่มีมีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด หากเราออกแบบโดยไม่ได้คำนึงว่าต้องมีพื้นที่ว่างอยู่ในเว็บไซต์ จะทำให้เว็บของเรานั้นดูอึดอัดทันที การเว้นช่องว่างเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างระหว่างตัวอักษร หรือช่องว่างระหว่างภาพ เนื้อหาต่างๆ นอกจากจะทำให้เว็บของเราดูสบายตาขึ้นแล้ว ยังทำให้เราสามารถกำหนดจุดที่จะให้ผู้ใช้งานเว็บรู้สึกสนใจในจุดนั้นได้อีกด้วย เช่นหากเราเว้นช่องว่างเอาไว้ตรงกลาง และนำภาพหรือตัวหนังสือเล็กๆไปวางไว้ ตรงจุดนั้นจะเป็นที่สนใจของผู้ใช้ทันที

เว็บไซต์ในเครือ savecyber

guaranasoda.com

lusotek.net

oneshotwebsite.com

smallvillespain.net

specavtomatica.com

m88-laos.com

mm88-laos.com

m88laos.com

เย็นตา.com

 SEO โดย SAVECYBER

INTERNAL LINK อีกหนึ่งปัจจัย ที่ช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับบน GOOGLE
การทำ SEO หรือการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google นอกจากการสร้างคอนเทนต์ที่ดี และเลือกใช้ Keyword ที่เหมาะสมกับเว็บไซต์แล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญต่างๆ มากมายที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับได้

อีกหนึ่งวิธีที่หลายคนนิยมใช้กันคือ การสร้าง Traffic ให้เว็บไซต์ด้วยการทำ Backlink แต่การสร้าง Traffic ไม่ได้มีเพียงแต่การทำ Backlink เท่านั้น อีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้เว็บไซต์ของเราติดอับได้ ก็คือการทำ Internal Link หรือการสร้าง Traffic ภายในเว็บไซต์ของเรานั้นเอง

Internal Link คืออะไร?
Internal Link คือ ลิงก์ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของเรา มีหน้าที่เชื่อมโยงลิงก์ไปยังหน้าเพจต่างๆ เป็นการสร้าง Traffic ภายในเว็บไซต์ ทำให้คนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ อยู่ในเว็บไซต์ของเราได้นานขึ้น และทำให้ Google มองว่า คอนเทนต์ของเรามีคุณภาพ เป็นเว็บไซต์มีความน่าสนใจ มีความเกี่ยวข้องกันของเนื้อหาในแต่ละหน้าเพจ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ชมเว็บไซต์

การทำ Internal Link คือการใส่ลิงก์ลงในข้อความตัวอักษร เป็นการเชื่อมโยงลิงก์ระหว่างบทความหนึ่งไปยังหน้าเพจที่มีความเกี่ยวข้องกัน ยกตัวอย่างเช่น หากเราพูดถึงการสร้าง Traffic ให้เว็บไซต์ “นอกจากการสร้าง Traffic ด้วย Backlink แล้ว ก็ยังมีวิธีการทำ Internal Link และ Outbound Link อีกด้วย” เท่านี้เราก็สามารถสร้าง Traffic ภายในเว็บไซต์ของเราผ่านบทความได้แล้ว ยิ่งหากปลายทางของลิงก์เรามีคุณภาพสูงหรือมีอันดับที่ดีบน Google ก็จะทำให้บทความหน้าเพจที่เราใส่ลิงก์ไว้ มีอันดับสูงขึ้นตามไปด้วย

การสร้างคอนเทนต์ทุกครั้ง หากเราพูดถึงบทความที่มีความเกี่ยวข้องกัน ก็สามารถใส่ลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าเพจนั้นๆ ได้ หรืออาจจะส่งลิงก์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก (Outbound Link) ก็สามารถช่วยให้เว็บไซต์ของคุณก็มีอันดับที่ดีขึ้นได้เช่นกัน

เทคนิคการทำเว็บไซต์ OUTBOUND LINK
สำหรับคนมีเว็บไซต์ การทำให้เว็บไซต์ขึ้นไปอยู่บนหน้าแรกของ Google คือเป้าหมายหลักของใครหลายคน การทำ SEO คนส่วนใหญ่จะนึกถึงวิธีการทำให้คนเข้ามาชมเว็บไซต์ของเรามากขึ้น หรืออยู่ในเว็บไซต์ของเราให้นานนนนขึ้น แล้วรู้หรือไม่ว่า การส่งลิงก์ออกไปยังนอกเว็บไซต์ (Outbound Link) ก็ช่วยให้อันดับเว็บไซต์ของเราสูงขึ้นได้เหมือนกัน

การทำ Outbound Link หรือการส่งลิงก์ออกไปนอกเว็บไซต์ คนที่ทำ SEO จนชำนาญหลายคนจะใช้เพื่อเป็นการอ้างอิงข้อมูลต่างๆ ในบทความ ข้อดีของการทำ Outbound Link ก็คือช่วยให้บทความของเรามีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้คนที่เข้ามาอ่านจะมองว่าคอนเทนต์ของเรานั้นมีประโยชน์ มีความน่าสนใจ เพราะให้ข้อมูลที่ถูกต้องโดยอ้างอิงจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเว็บไซต์ที่เราใช้อ้างอิงอีกด้วย

แล้ว Outbound Link ช่วยในเรื่องของ SEO ได้ยังไง?
Google มองว่าบทความที่มี Outbound Link นั้น เป็นบทความที่ดี และยังเห็นด้วยกับการส่งลิงก์ออกนอกเว็บไซต์ แต่ลิงก์ที่ส่งออกไปต้องเป็นประโยชน์ต่อคนอ่าน และมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทความของเว็บไซต์เรา ยิ่งถ้าเป็นเว็บไซต์ที่มีอันดับสูงๆ อยู่บน Google ก็จะช่วยให็เว็บไซต์ของเรามีคะแนนอันดับสูงขึ้นตามไปด้วย

ถึงแม้ว่าการทำ Outbound Link จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามีมากไปก็อาจส่งผลเสียได้เหมือนกัน เพราะมันอาจทำให้ Google มองว่าเป็นการ Spam Link แทน ควรทำในปริมานที่เหมาะสมหรือใช้สำหรับอ้างอิงในส่วนสำคัญก็พอ

นอกจากการส่งลิงก์ไปนอกเว็บไซต์แล้ว ก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับการทำลิงก์ภายใน (Internal Link) กันด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นลิงก์แบบไหนก็ช่วยให้อันดับ SEO ดีขึ้นได้

เพิ่มพลัง SEO ด้วย XML SITEMAP

XML Sitemap คืออะไร
ถ้าอยากให้เว็บไซต์ติดอันดับ ต้องมี XML Sitemap จริงหรือไม่

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้า XML Sitemap ข้อดี และประโยชน์ของมัน

Sitemap หรือ “แผนผังเว็บไซต์” จะอธิบายถึงโครงสร้างของเว็บไซต์ เป็นเหมือน “สารบัญ” หรือ “หน้าดัชนี” ที่รวม link ทั้งหมดของเว็บไซต์ไว้ภายในหน้าเดียว และ Search Engine ส่วนมากจะชื่นชอบเว็บไซต์ที่มี Sitemap เอามากๆ ซึ่งจะทำให้อันดับของเราดีขึ้นด้วย

ในเว็บยุคแรกๆ จะนิยมทำ Sitemap เป็นหน้าเว็บหน้าหนึ่ง เพื่อรวม link ของทุกๆ หน้า ให้ผู้เยี่ยมชมได้ทราบถึง แผนผังการเชื่อมโยงทั้งหมดของเว็บไซต์

sitemaphtml

Sitemap ในรูปแบบหน้าเว็บไซต์

ในปัจจุบัน ก็มี Sitemap อีกประเภทหนึ่ง นั่นคือ Sitemap สำหรับ Search Engine โดยเฉพาะ เพื่อให้ Bot ของ Search Engine เข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่าย และเข้ามาเก็บข้อมูลตาม link ที่เราจัดทำไว้ได้อย่างรวดเร็ว (index pages) ซึ่งก็คือ XML Sitemap นั่นเอง

ภาษา XML เราไม่สามารถเห็นในรูปแบบของหน้าเว็บไซต์ที่ถูกออกแบบ และจัดการกับเนื้อหาให้แสดงผลให้เราอ่านได้ แต่มันจะเป็นโค้ดภาษาคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรูปแบบของภาษา XML นั่นเอง

sitemapxml

XML Sitemap

XML SITEMAP สำคัญอย่างไร?

ความสำคัญที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นมิตรกับระบบค้นหาของ Google หรือเรียกง่ายๆ ว่า “Google Search Engine Friendly” หรือง่ายๆ กว่านั้น คือ Google จะชื่นชอบเว็บไซต์ของเรามากขึ้น เพื่อหวังผลการทำอันดับที่ดี และคะแนนทาง SEO ที่ดี

Savecyber

การใช้งาน XML SITEMAP โดย SAVECYBER

ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบว่า เว็บไซต์ของเรามี XML Sitemap แล้ว โดยการเข้าเว็บไซต์ http://www.ชื่อเว็บไซต์ของเรา.com/sitemap.xml โดยมีข้อมูลตามภาพด้านล่าง แสดงว่าเว็บไซต์ของเรามี XML Sitemap แล้ว

sitemap7

เพื่อให้ SEO ของเรามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราจะมาทำให้ Google Webmaster Tools รู้จัก XML Sitemap ของเรา ก่อนอื่นเราต้องมี Google Webmaster Tools แล้วทำการยืนยันความเป็นเจ้าของเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว หากยังไม่ได้ทำขั้นตอนเหล่านี้ สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทความ Google Webmaster Tools เครื่องมือดีๆ สำหรับคนทำเว็บ

ขั้นตอนการเพิ่ม SITEMAP ใน GOOGLE WEBMASTER TOOLS

1. เข้าไปที่ https://www.google.com/webmasters/tools/ คลิกที่ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการจะเพิ่ม Sitemap

sitemap8

2. เมื่อคลิกเข้ามา ให้ไปที่เมนูด้านข้าง ไปที่ การรวบรวมข้อมูล -> Sitemap (ลูกศรสีแดง)
ระบบจะพาไปที่หน้า Sitemap กดที่ปุ่ม เพิ่ม/ทดสอบแผนผังไซต์ (ลูกศรสีเหลือง)

sitemap10

3. จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาให้พิมพ์  sitemap.xml ในช่องว่างที่แสดงขึ้นมา

sitemap11

สามารถกดที่ปุ่ม ทดสอบ เพื่อตรวจสอบว่าเว็บไซต์มี sitemap.xml แล้วหรือยัง (ซึ่งถูกส้รางมาจากหัวข้อ : การสร้าง Sitemap และการนำไปใช้กับ Makewebeasy) หากไม่พบข้อผิดพลาด ก็สามารถกด ส่ง ได้เลย

sitemap12

เมื่อกด ส่ง เรียบร้อยจะแสดงหน้าจอตามภาพ

sitemap13

กด รีเฟรซหน้าเว็บ ก็จะแสดงหน้าจอตามภาพด้านล่าง
แสดงว่าเราได้ทำการเพิ่ม Sitemap ใน Google Webmaster Tools เสร็จเรียบร้อยแล้ว

sitemap14

หากมีการเพิ่มหน้าเว็บไซต์ในอนาคต จำนวนของ link จะเพิ่มขึ้น ให้ไปทำการสร้าง Sitemap ใหม่อีกครั้ง ตามหัวข้อ การสร้าง Sitemap และการนำไปใช้กับ Savecyber ซึ่ง Bot ของ Google จะเข้ามาอัพเดทข้อมูลของ Sitemap ใหม่เอง