โรคสุดอันตรายใน ต่อมน้ำเหลือง
ผลข้างเคียง ยาวัณโรค ต่อมน้ำเหลือง สามโรคเกี่ยวกับ ‘ต่อมน้ำเหลือง’ ที่มองข้ามไม่ได้..! เช็กตัวเองก่อนว่าเข้าข่ายรึป่าวว!
นอกจากนี้ ยังเป็นโรคใหม่ที่สามารถวิเคราะห์ใน AGNOS ได้อีกด้วย! จะมีโรคอะไรบ้างมาดูกัน
วัณโรคต่อมน้ำเหลือง (TB lymph node)
ผลข้างเคียง ยาวัณโรค ต่อมน้ำเหลือง อาจเป็นชื่อโรคที่ไม่ค่อยคุ้นหูมากนัก หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อวัณโรคปอด แต่จริงๆแล้วเชื้อวัณโรคนี้ยังสามารถก่อโรคที่อวัยวะอื่นได้เช่นกัน หนึ่งในอวัยวะที่พบการติดเชื้อได้ก็คือต่อมน้ำเหลืองนั่นเอง
คืออะไร..?
วัณโรคที่ก่อโรคที่ต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่พบที่ต่อมน้ำเหลืองลำคอ โดยอาจมีต่อมน้ำเหลืองบวมโตเพียงต่อมเดียว หรือบวมต่อกันหลายๆต่อมเป็นสายเหมือนสายลูกประคำก็ได้.โดยต่อมน้ำเหลืองที่บวมขึ้นมามักจะไม่เจ็บ และไม่ได้เป็นก้อนแข็งมาก ก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆอย่างช้าๆหากไม่ได้รับการรักษา
เกิดจากอะไร?
เชื้อวัณโรคติดต่อกันทางการหายใจ ไอ จาม ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค หรืออาศัยในสภาพอากาศที่ไม่ถ่ายเท แออัด มีการทำความสะอาดได้ไม่ถูกสุขลักษณะ ก็จะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่า โดยเชื้อจะสามารถแพร่กระจาย และลอยอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง
อาการ
- คลำได้ต่อมน้ำเหลืองบวมโตที่ลำคอด้านใดหรือที่ส่วนใดของลำคอก็ได้ หรือในส่วนอื่นๆของร่างกาย, อาจต่อมฯเดียวหรือหลายต่อมฯกระจายประมาณ 1-3 ต่อม
- มักพบเกิดข้างเดียวของลำคอ/ของร่างกาย (85%ของผู้ป่วย)
- ขนาดต่อมฯมักไม่เกิน 3 ซม.
- ต่อมมักไม่เจ็บ และไม่แข็งมาก เคลื่อนที่ได้
- ในระยะต่อมา ต่อมฯจะ’โตช้าๆ’ ต่อเนื่อง:
- อาจโตได้มากกว่า 5-10 cm
- จะค่อยๆแข็งขึ้นต่อเนื่อง
- ยึดติดกับเนื้อเยื่อรอบๆต่อมฯจนเคลื่อนที่ไม่ได้
- อาจเริ่มมีอาการเจ็บที่ต่อมฯ
- ต่อมอาจแตกและมีสารคัดหลั่งสีขาวไหลออกมา (พบประมาณ 5-10%) ซึ่งสารคัดหลั่งนี้จะมีเชื้อวัณโรคปนและอาจก่อการติดเชื้อได้
- ต่อมน้ำเหลืองอาจโตเป็นเม็ดๆเรียงเป็นสาย ลักษณะคล้ายสายประคำ มักอยู่ทางด้านหน้าของลำคอ
อาการทั่วไปที่มักจะมีร่วมด้วย คือ
- อ่อนเพลีย
- น้ำหนักลดผิดปกติโดยหาสาเหตุไม่ได้
- มีไข้ต่ำๆ
- มีเหงื่อออกกลางคืน
ติดต่อได้มั้ย?
ตัววัณโรคต่อมน้ำเหลือง ทั่วไปไม่แพร่เชื้อติดต่อสู่ผู้อื่น แต่ในกรณีผู้ป่วยมีวัณโรคปอดร่วมด้วย วัณโรคปอดจะเป็นตัวแพร่เชื้อฯสู่ผู้อื่นจากการไอ จาม หายใจ
การรักษา
- ทานยาฆ่าเชื้อวัณโรค โดยจะต้องรักษานาน 6-9 เดือน
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
คืออะไร?
มีเนื้องอกร้ายที่ต่อมน้ำเหลืองหรือโครงสร้างต่อม ซึ่งระบบน้ำเหลืองก็เป็นระบบหนึ่งของภูมิคุ้มกัน ประกอบไปด้วย อวัยวะน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม และไขกระดูก ซึ่งภายในอวัยวะเหล่านี้จะเต็มไปด้วยน้ำเหลือง มีหน้าที่นำสารอาหารและเซลล์เม็ดเลือดขาวไปทั่วร่างกาย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้นมา
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดได้ในทุกที่
เพราะต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น คอ รักแร้ ข้อพับแขน ข้อพับขา ช่องอก ช่องท้อง ลำไส้ หรือกระเพาะ
เกิดจากอะไร?
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น
- การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น การติดเชื้อไวรัสเอชทีแอลวี (Human T-lymphocytic virus – HTLV),
- การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อเอชไพโลไร ที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ
- การมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคเอดส์,
- เป็นโรคภูมิแพ้ตนเองบางชนิด
- ปัจจัยทางพันธุกรรม
- การสัมผัสวัตถุทางเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น การสัมผัสยาฆ่าแมลง
- การกินอาหารพวกโปรตีนและไขมันสูง
- การที่ร่างกายมีความเป็นกรดในระยะเวลานานก็เป็นสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เซลล์ต่อมน้ำเหลืองกลายเป็นมะเร็งได้
อาการ
อาการเริ่มต้น
- พบก้อนเนื้อบริเวณ : คอ รักแร้ ขาหนีบ หรือ เต้านม มักไม่มีอาการเจ็บ
- มีไข้ หนาวสั่น
- เหงื่ออกตอนกลางคืน
- คันทั่วร่างกาย
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก
- ปวดหัว (มักพบในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)
อาการระยะลุกลาม
- ซีด เลือดออกง่าย เช่น จุดเลือดออกจามตัว หรือเป็นจ้ำๆเลือด
- อาจมีอาการแน่นท้อง ท้องโต อาหารไม่ย่อย (ในกรณีเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง)
การรักษา
- การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
- การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation Therapy)
- การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Transplantation)
ต่อมน้ำเหลืองที่คอติดเชื้อ (Cervical Lymphadenitis)
ต่อมน้ำเหลืองซึ่งเป็นต่อมที่มีอยู่ทั่วร่างกาย ภายในประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่สำคัญในการช่วยต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค เชื้อไวรัส และแบคทีเรียต่าง ๆ ต่อมน้ำเหลืองโตเป็นอาการบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ส่วนน้อยเกิดจากภาวะอื่นๆ เช่น มะเร็ง
อาการของโรค
- ต่อมน้ำเหลืองบวมโตขึ้น
- รู้สึกปวด หรือกดเจ็บ
- ผิวหนังบริเวณดังกล่าวแดง สัมผัสแล้วรู้สึกอุ่น
- อาจมีอาการที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อบริเวณศีรษะร่วมด้วย เช่น เจ็บคอ น้ำมูกไหล เป็นไข้ ปวดหู ฟันผุ
แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค
- การซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยจะซักประวัติรายละเอียดการโตของต่อมน้ำเหลืองและอาการอื่นๆ ที่พบร่วม ตรวจร่างกาย คลำต่อมน้ำเหลือง ตรวจช่องปาก จมูก หู
- เจาะเลือด ตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือง
- ส่งตรวจเอกซเรย์ หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
การรักษา
- หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจะรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ
- หากเกิดจากเชื้อไวรัสก็มักจะหายไปได้เอง
- หากรู้สึกเจ็บหรือกดแล้วเจ็บก็อาจรับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน หรือพาราเซตามอล พักผ่อนให้เพียงพอ
_______________________________________________________
อ้างอิง :
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/lymphoma_cancer/